วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

แผนการสอนหน่วยที่ 2

ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
แนวคิดคนไทยอยู่ร่วมกันโดยสงบสุข

ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดชั้นปี
      • วิเคราะห์ประเด็นสำคัญของประวัติศาสตรไทย (ส 4.3 ม. 4–6/1)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน นักเรียนจะเข้าใจว่า...
          ประเทศต่างๆในโลกมีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมความเชื่อและค่านิยมเนื่องจากแต่ละประเทศ มีลักษณะทางวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจ วิทยาการและเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งกันอันนำไปสู่ชนวนการทำสงครามได้       
การแก้ไขและป้องก้นความขัดแย้งทางสังคมและวัฒนธรรมคือการหันหน้ามาปรึกษาหารือกัน และยอมรับในความแตกต่างของแต่ละประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
คำถามสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
     สาเหตุความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมเกิดจากอะไร
ความรู้ของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน นักเรียนจะรู้ว่า...
    เผ่าพันธุ์ และศาสนา ย่อมมีวิถีการดำเนินชีวิต
ในแต่ละสังคมที่แตกต่างกัน เช่น การแต่งกาย การ
กินอยู่ พิธีกรรม จึงมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็น
ได้ชัด
ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่นำไปสู่
ความเข้าใจที่คงทน นักเรียนจะสามารถ...
1. อธิบายความหมายของคำว่า เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรมได้
2. วิเคราะห์ความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นได้
3. บอกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมได้



ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้
        ตามที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
   1.1 สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อสายของคนไทยที่ตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย ว่ามีเชื้อสายใดบ้าง 
   1.2 วิเคราะห์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเชื้อสายของคนไทยที่ตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทยว่าอพยพมาจากที่ใด
   1.3 อภิปรายแสดงความคิดเห็นถึงการอยู่ร่วมกันของคนไทยที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรม
  
2. วิธีการและเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
2.1 วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
     1) การทดสอบ
     2) การประเมินผลงาน/กิจกรรมเป็น
         รายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
     3) การประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม
         และค่านิยม
     4) การประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ
2.2 เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
     1) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
    2) แบบประเมินผลงาน/กิจกรรมเป็น
        รายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
    3) แบบประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม
        และค่านิยม
    4) แบบประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ
3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
   3.1 ความเข้าใจ 6 ด้าน ได้แก่ การอธิบาย ชี้แจง การแปลความและตีความ การประยุกต์
         ดัดแปลง และนำไปใช้ การมีมุมมองที่หลากหลาย การให้ความสำคัญและใส่ใจในความรู้สึก
         ของผู้อื่น และการรู้จักตนเอง
   3.2 ทักษะ/กระบวนการ เช่น การสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี กระบวนการกลุ่ม
   3.3 คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม เช่น รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่าง   
         พอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2   แนวคิดคนไทยอยู่ร่วมกันโดยสงบสุข             เวลา 2  ชั่วโมง



********************************************** 

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
            แนวคิดคนไทยอยู่ร่วมกันโดยสงบสุข             
 
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์      หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  แนวคิดคนไทยอยู่ร่วมกันโดยสงบสุข       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6
       เรื่อง ปัจจัยความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรม                                เวลา 2  ชั่วโมง
 ********************************
 



1. สาระสำคัญ
                ประเทศไทยประกอบไปด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติ ต่างเผ่าพันธุ์ และต่างศาสนา ซึ่งมีผลให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิตจึงมีความแตกต่างกันแต่ทุกคนก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
                • วิเคราะห์ประเด็นสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย (ส 4.3 ม. 46/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
                1. อธิบายความหมายของคำว่า เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรมและบอกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมได้ (K)
                2. มีความสนใจใฝ่รู้ที่จะศึกษาเรื่องเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรมของผู้คนที่มาตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย (A)
      3. สืบค้นข้อมูลและวิเคราะห์ความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นได้ (P)
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม (A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1. ทดสอบก่อนเรียน
2. ซักถามความรู้เรื่อง
ความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรมและปัจจัยความแตกต่างสำคัญในการดำเนินชีวิตของผู้คน
3. ตรวจผลงาน/กิจกรรมเป็น
 รายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
• ประเมินพฤติกรรมในการ
   ทำงานเป็นรายบุคคลในด้าน
   ความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ ฯลฯ
• ประเมินพฤติกรรมในการ
   ทำงานเป็นรายบุคคลและ  
   เป็นกลุ่มในด้านการสื่อสาร
   การคิด การแก้ปัญหา ฯลฯ


5. สาระการเรียนรู้
                1. ความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรม
                2. การอยู่ร่วมกันของคนไทย
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย               ð  ฟัง พูด อ่าน เขียน เรื่องทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรม
การงานอาชีพฯ     ð สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนแต่ละเชื้อชาติ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้         
   ชั่วโมงที่ 1


  ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน
                1. ครูพูดคุยซักถามนักเรียนเกี่ยวกับคนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดราชบุรีว่ามีคนเชื้อสายใดอยู่บ้าง
                2. ลักษณะเด่นของคนเหล่านี้มีอะไรบ้าง
                3. ครูให้นักเรียนดูแผนที่ทวีปเอเชีย แล้วถามว่า นักเรียนคิดว่าคนเชื้อสายต่างๆเหล่านี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ใด และนอกจากเชื้อสายกะเหรี่ยงแล้วประเทศไทยยังประกอบไปด้วยคนเชื้อสายใดบ้าง แล้วโยงเข้าสู่บทเรียน
   ขั้นที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้
ความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรม
                4. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน
                5. ครูให้นักเรียนแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
                    กลุ่มที่ 1 คนไทยเชื้อสายจีน
                    กลุ่มที่ 2 คนไทยเชื้อสายมลายู
                    กลุ่มที่ 3 คนไทยเชื้อสายโปรตุเกส
                    กลุ่มที่ 4 คนไทยเชื้อสายลาว
                    กลุ่มที่ 5 คนไทยเชื้อสายเขมร
                    กลุ่มที่ 6 คนไทยเชื้อสายเวียดนาม  และอินเดีย
                    กลุ่มที่ 7 คนไทยเชื้อสายมอญ และพม่า
                6. ครูให้แต่ละกลุ่มวิเคราะห์สรุป แล้วบันทึกผลการสืบค้น จากนั้นนำมารายงานให้เพื่อนฟังแล้วเพื่อน ๆ แสดงความคิดเห็น จากนั้นให้นักเรียนทำใบงาน เรื่อง ความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์
   ชั่วโมงที่ 2


ครูทบทวนเนื้อหาเรื่องความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ที่นักเรียนได้ศึกษากันไปแล้วและเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน  เรื่อง การอยู่ร่วมกันของคนไทย
                1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการความแตกต่างทางวัฒนธรรมของคนแต่ละเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์
                2. ครูให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์การผสมผสานทางวัฒนธรรมในปัจจุบันว่าเหมาะสมหรือไม่และควรแก่การยึดถือปฏิบัติอย่างไร                  จากนั้นนักเรียนตอบคำถามแล้วครูอธิบายเพิ่มเติม
              3. ในขณะปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน ให้ครูสังเกตพฤติกรรมในการทำงานและการนำเสนอผลงานของนักเรียนตามแบบประเมินพฤติกรรมในการทำงานเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
   ขั้นที่ 3 ฝึกฝนผู้เรียน
         4. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม และช่วยกันเฉลยคำตอบ
ขั้นที่ 4 นำไปใช้
         5. ครูให้นักเรียนทำรายงานเกี่ยวกับเชื้อสายคนไทยและการผสมผสานทางวัฒนธรรม
  ขั้นที่ 5 สรุป
         6. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง ความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรม
8. กิจกรรมเสนอแนะ
                ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–6 คน ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับเชื้อชาติของคนไทย และนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชั้นเรียน
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
                1. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
                2. แผนที่ทวีปเอเชีย
                3. แบบบันทึกผลการสืบค้นข้อมูลเรื่อง เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ของคนไทย
4. ใบงาน เรื่อง ความหลากหลายทางเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรม
                5. สื่อการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ สมบูรณ์แบบ ม. 4–6 เล่ม 1 บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
                6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม. 4–6 เล่ม 1 บริษัทสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
                7. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม. 4–6 เล่ม 1 บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด





























                                                                                       









                               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น