วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

แผนการสอนหน่วยที่ 1

ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
แนวคิดความเป็นมาของชาติไทย
ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดชั้นปี
      • วิเคราะห์ประเด็นสำคัญของประวัติศาสตรไทย (ส 4.3 ม. 4–6/1)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน นักเรียนจะเข้าใจว่า...
     ปัจจุบันการศึกษาประวัติศาสตร์บางประเด็นยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน ซึ่งผลสรุปของการศึกษาประวัติศาสตร์นั้นอาจเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้หากมีการค้นพบหลักฐานใหม่ ๆ ที่น่าเชื่อถือ
คำถามสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่คงทน

     เพราะเหตุใดประเด็นในการศึกษาประวัติศาสตร์จึงหาข้อสรุปที่แน่ชัดไม่ได้
แล้วเราจะศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่างไร
ความรู้ของนักเรียนที่นำไปสู่ความเข้าใจที่คงทน นักเรียนจะรู้ว่า...
1. คำสำคัญ ได้แก่ การตั้งถิ่นฐาน แอ่งโคราช
    แอ่งสกลนคร รัฐโบราณ
2. การศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับแนวความคิดเรื่อง
    ถิ่นเดิมของชนชาติไทย มีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ 5 แนวคิด ซึ่งผู้ที่เสนอแนวความนิดต่าง ๆ สันนิษฐานโดยตีความและอ้างอิงข้อมูลและหลักฐานที่แตกต่างกัน
3. การศึกษาเรื่องการตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานทางด้านโบราณคดีที่ค้นพบและข้อมูลจากเอกสารชาวต่างชาติ ทำให้ทราบว่าดินแดนในประเทศไทยมีมนุษย์เข้ามาตั้ง
      ถิ่นฐานเมื่อหลายพันปีก่อน ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อลักษณะการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ คือ ปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางสังคม

ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่นำไปสู่
ความเข้าใจที่คงทน นักเรียนจะสามารถ...
1. อธิบายแนวคิดที่เกี่ยวกับถิ่นเดิมของชนชาติไทย
2. วิเคราะห์ประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับถิ่นเดิมของชนชาติไทย
3. บอกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการตั้ง
     ถิ่นฐานในดินแดนไทย
4. วิเคราะห์ประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับการ
    ตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
5. อธิบายลักษณะของรัฐโบราณในดินแดนของประเทศไทย



ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้
        ตามที่กำหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
   1.1 สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับถิ่นเดิมของชนชาติไทยและการตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย  
   1.2 วิเคราะห์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับถิ่นเดิมของชนชาติไทยและการตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย  
   1.3 อภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐโบราณในดินแดนไทย
   1.4 ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับรัฐโบราณในดินแดนไทย

2. วิธีการและเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
2.1 วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
     1) การทดสอบ
     2) การประเมินผลงาน/กิจกรรมเป็น
         รายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
     3) การประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม
         และค่านิยม
     4) การประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ
2.2 เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
     1) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
    2) แบบประเมินผลงาน/กิจกรรมเป็น
        รายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
    3) แบบประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม
        และค่านิยม
    4) แบบประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ
3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
   3.1 ความเข้าใจ 6 ด้าน ได้แก่ การอธิบาย ชี้แจง การแปลความและตีความ การประยุกต์
         ดัดแปลง และนำไปใช้ การมีมุมมองที่หลากหลาย การให้ความสำคัญและใส่ใจในความรู้สึก
         ของผู้อื่น และการรู้จักตนเอง
   3.2 ทักษะ/กระบวนการ เช่น การสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี กระบวนการกลุ่ม
   3.3 คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม เช่น รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่าง   
         พอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ถิ่นเดิมของชนชาติไทยและการตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย   เวลา 4 ชั่วโมง



**************************************************** 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
ถิ่นเดิมของชนชาติไทยและการตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์      หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 แนวคิดความเป็นมาของชาติไทย    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6                        
เรื่อง ถิ่นกำเนิดชนชาติไทยและการตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย                                เวลา 4  ชั่วโมง

*****************************************
1. สาระสำคัญ
                การศึกษาเรื่องถิ่นเดิมของชนชาติไทย ยังมีหลักฐานไม่พียงพอที่จะสรุปเป็นข้อยุติได้แน่นอนว่าถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ที่ไหน มีแนวคิดต่าง ๆ ที่ยังจะต้องศึกษาค้นคว้าต่อไป
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
                • วิเคราะห์ประเด็นสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย (ส 4.3 ม. 46/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
                1. อธิบายถิ่นเดิมของชนชาติไทยและการตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทยได้ (K)
                2. มีความสนใจใฝ่รู้ที่จะศึกษาเรื่องถิ่นเดิมของชนชาติไทยและการตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย (A)
                3. สืบค้นข้อมูลและวิเคราะห์ถิ่นเดิมของชนชาติไทยและการตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย (P)
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม (A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
1. ทดสอบก่อนเรียน
2. ซักถามความรู้เรื่อง
   ถิ่นเดิมของชนชาติไทยและ
   การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
3. ตรวจผลงาน/กิจกรรมเป็น
   รายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
• ประเมินพฤติกรรมในการ
   ทำงานเป็นรายบุคคลในด้าน
   ความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ ฯลฯ
• ประเมินพฤติกรรมในการ
   ทำงานเป็นรายบุคคลและ  
   เป็นกลุ่มในด้านการสื่อสาร
   การคิด การแก้ปัญหา ฯลฯ


5. สาระการเรียนรู้
                1. ถิ่นเดินของชนชาติไทย
                2. การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย               ð  ฟัง พูด อ่าน เขียน เรื่องถิ่นเดิมของของชนชาติไทยและการตั้งถิ่นฐาน    
       ในดินแดนไทย
                การงานอาชีพฯ     ð สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับถิ่นเดิมของชนชาติไทย
 7. กระบวนการจัดการเรียนรู้         
ชั่วโมงที่ 1-2



  ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน
                1. ครูแจ้งตัวชี้วัดชั้นปีและจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
                2. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
                3. ครูให้นักเรียนดูแผนที่ทวีปเอเชีย แล้วถามว่า คนไทยมาจากไหน ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ ที่ไหน พร้อมทั้งให้นักเรียนออกมาชี้แผนที่ประกอบ จากนั้นครูสรุปเพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาที่จะเรียน
   ขั้นที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้
ถิ่นเดิมของชนชาติไทย
                4. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับถิ่นเดิมของชนชาติไทย
                5. ครูให้นักเรียนแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้
                    กลุ่มที่ 1 ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณตอนกลางของจีน
                    กลุ่มที่ 2 ชนชาติไทยเป็นเชื้อสายมองโกลมีถิ่นเดิมอยู่แถบเทือกเขาอัลไต
                    กลุ่มที่ 3 ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณตอนใต้ของจีน
                    กลุ่มที่ 4 ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย
                    กลุ่มที่ 5 ถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน
                6. ครูให้แต่ละกลุ่มวิเคราะห์สรุป แล้วบันทึกผลการสืบค้น จากนั้นนำมารายงานให้เพื่อนฟังแล้วเพื่อน ๆ แสดงความคิดเห็น จากนั้นให้นักเรียนทำใบงาน เรื่อง ถิ่นเดิมของชนชาติไทยในความคิดของนักวิชาการ

   ชั่วโมงที่ 3



ครูทบทวนเนื้อหาเรื่องถิ่นเดิมของชนชาติไทย ที่นักเรียนได้ศึกษากันไปแล้วและเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน
การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
                1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
                2. ครูให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย ครูถามคำถามนักเรียน ตัวอย่างคำถาม
                   1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในดินแดนไทยมีอะไรบ้าง
                   2) เหตุใดจึงเรียกชื่อวัฒนธรรมยุคโลหะในแอ่งสกลนครว่าวัฒนธรรมบ้านเชียง
                   3) การตั้งถิ่นฐานของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคกลางพบมากในบริเวณใด
                   4) ลักษณะภูมิประเทศภาคใต้ของไทยเป็นอย่างไร
                จากนั้นนักเรียนตอบคำถามแล้วครูอธิบายเพิ่มเติม
          3. ในขณะปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน ให้ครูสังเกตพฤติกรรมในการทำงานและการนำเสนอผลงานของนักเรียนตามแบบประเมินพฤติกรรมในการทำงานเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม

ชั่วโมงที่ 4

1.     นักเรียนแบ่งกลุ่ม แล้วให้แต่ละกลุ่มอ่านหนังสือประกอบการเรียน และช่วยกันวิเคราะห์ปัจจัย       
        ที่มีผลต่อการสถาปนาอาณาจักรไทยในสมัยต่อๆมา โดยครูตั้งประเด็นคำถาม ดังนี้
-                    หากนักเรียนจะสร้างบ้านควรเลือกสร้างในลักษณะภูมิประเทศแบบใด
-                    การตั้งถิ่นฐานของแต่ละอาณาจักรของไทยมีลักษณะเหมือนกันในเรื่องใดบ้าง
2.     ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
-                    นักเรียนเห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยตามแนวคิดใด เพราะเหตุใด
-                    อาณาจักรโบราณใดที่นักเรียนประทับใจ เพราะเหตุผลใด
-                    นักเรียนคิดว่า ความเจริญด้านใดของอาณาจักรโบราณใดที่มีอิทธิพลต่ออาณาจักรไทย         ในสมัยต่อมามากที่สุด เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

   ขั้นที่ 3 ฝึกฝนผู้เรียน
         4. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับถิ่นเดิมของชนชาติไทยและการตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย และช่วยกันเฉลยคำตอบ
ขั้นที่ 4 นำไปใช้
         5. ครูให้นักเรียนทำแผ่นพับเกี่ยวกับถิ่นเดิมของชนชาติไทยและการตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทยเพื่อเผยแพร่ความรู้
  ขั้นที่ 5 สรุป
         6. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง ถิ่นเดิมของชนชาติไทยและการตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทยลงในสมุด
8. กิจกรรมเสนอแนะ
                ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–6 คน ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับถิ่นเดิมของชนชาติไทยและการตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย และนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชั้นเรียน
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
                1. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
                2. แผนที่ทวีปเอเชีย
                3. แบบบันทึกผลการสืบค้นข้อมูลเรื่อง ถิ่นเดิมของชนชาติไทย
4. ใบงาน เรื่อง ถิ่นเดิมของชนชาติไทยในความคิดของนักวิชาการ
                5. สื่อการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ สมบูรณ์แบบ ม. 4–6 เล่ม 1 บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด     
                 6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม. 4–6 เล่ม 1 บริษัทสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
            7. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม. 4–6 เล่ม 1 บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น